วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

วิธีการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ (Model of Cell-Cell Signaling )


  1.การส่งสัญญาณผ่านโดยเกิดอันตรกิริยาระหว่างเซลล์โดยตรง



 มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเกิดอันตรกิริยาระหว่างเซลล์ต่างชนิดกันที่เกิดขึ้นขณะที่มีการพัฒนาของตัวอ่อน เช่น อินทีกริน (integrin) และ แคดฮีริน (cadherin) ซึ่งจะมีบทบาทในการควบคุมการเพิ่มจำนวนและการอยู่รอดของเซลล์โดยมีการตอบสนองระหว่างเซลล์และกับสิ่งแวดล้อม2.         การส่งสัญญาณโดยการหลั่งสารหรือโมเลกุลที่ส่งสัญญาณออกมาจากเซลล์ มี 3 รูปแบบคือ1)       การส่งสัญญาณแบบเอนโดไครน์ (endocrine signaling)สร้างมาจากเซลล์พิเศษของต่อมไร้ท่อและถูกหลั่งออกมาผ่านช่องว่างภายนอกเซลล์เข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต เพื่อไปจับกับตัวรับของเซลล์เป้าหมาย ซึ่งห่างจากเซลล์ของต่อมไร้ท่อมาก

2. การส่งสัญญาณแบบพาราไครน์ (paracrine signaling)



สารถูกหลั่งออกมาแล้วไปจับกับตัวรับของเซลล์เป้าหมายที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น การทำงานของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ที่นำส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทที่บริเวณซิแนปส์ (synapes)


3. การส่งสัญญาณแบบออโตไครน์ (autocrine signaling)


โมเลกุลส่งสัญญาณเมื่อหลั่งออกมาแล้วจะไปจับกับตัวรับของเซลล์เดิมที่หลั่งโมเลกุลตัวนั้นออกมา เช่น การตอบสนองของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์มีกระดูกสันหลังต่อแอนติเจนแปลกปลอม โดยแอนติเจนจะกระตุ้นลิมโฟไซท์ชนิดที (T-lymphocyte) ให้สร้างโกรทแฟคเตอร์ (growth factor) มากระตุ้นให้เซลล์ทีแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวน และถ้าเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างโมเลกุลที่ส่งสัญญาณแบบออโตไครน์จะทำให้ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ เช่น การเกิดมะเร็ง เป็นต้น การส่งสัญญาณผ่านแกปจังก์ชัน (Gap junction communication)เนื่องจากแกปจังก์ชันเป็นการเชื่อมต่อกันโดยตรงของไซโทพลาซึมระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกันดังนั้นแกปจังก์ชันจึงยอมให้โมเลกุลส่งสัญญาณขนาดเล็กที่อยู่ภายในเซลล์ (intracellular mediators หรือ intracellular signaling molecules) เช่น แคลเซียมไอออน และ ไซคลิกเอเอ็มพี (cyclic AMP) ผ่านได้ แต่โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน หรือ กรดนิวคลีอิก จะไม่ยอมให้ผ่าน นอกจากนี้แกปจังก์ชันยังมีส่วนช่วยให้เซลล์ชนิดเดียวกันมีการติดต่อสื่อสารและประสานงานกันได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น