วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาเซลล์

การใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาเซลล์

          เซลล์เป็นหน่วยของสิ่งชีวิตที่เล็กที่สุด ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ช่วยในการศึกษาเซลล์ สำหรับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 ประเภท ประเภทแรก คือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light microscope) ที่ใช้กันทั่วไปในห้องปฏิบัติการ และประเภทที่สอง คือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) ใช้ศึกษารายละเอียดของเซลล์ซึ่งมีขนาดเล็กจนไม่สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเท่านั้น เพราะเป็นเครื่องมือที่นักเรียนจะได้มีโอกาสใช้มากที่สุด

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

          กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ใช้กันทั่วไปประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังภาพข้างล่าง







การใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

การใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างถูกวิธีมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
1) ตั้งตัวกล้องให้ตรง
2) หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ตรงกับแนวลำกล้อง
3) เปิดหลอดไฟ ให้แสงผ่านเข้าลำกล้อง
4) นำสไลด์ตัวอย่างเซลล์ที่ต้องการศึกษา (ปิดด้วยแผ่นกระจกปิดสไลด์แล้ว) วางบนแท่นวางสไลด์ในตำแหน่งที่ยึดได้ด้วยคลิปหนีบ และให้อยู่กึ่งกลางของช่องที่แสงผ่าน
5) ตามองด้านข้างตัวกล้อง ค่อน ๆ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้ลำกล้องเลื่อนใกล้กับวัตถุมากที่สุด
6) ตามองที่เลนส์ใกล้ตาผ่านลำกล้อง ถ้ายังไม่เห็นภาพของวัตถุให้ค่อย ๆ หมุนป่มปรับภาพหยาบอย่างช้า ๆ จนเห็นภาพแล้วจึงค่อย ๆ หมุนปุ่มปรับภาพละเอียด เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
7) ถ้าต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุโดยให้เปลี่ยนเลนส์เป็นเลนส์กำลังขยายที่สูงขึ้นตามลำดับแล้วปรับภาพให้ชัดด้วยการหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพียงอย่างเดียว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น