วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตัวรับที่อยู่ที่ผิวเซลล์ (Cell-Surface Receptors)

โปรตีนที่ผิวเซลล์จะทำหน้าที่เป็นตัวรับส่งสัญญาณ (signal transducers) ที่รับสัญญาณจากภายนอกเซลล์แล้วส่งสัญญาณต่อไปภายในเซลล์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของเซลล์เป้าหมาย โปรตีนที่ผิวเซลล์แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามกลไกการทำงาน ดังนี้


1. ตัวรับที่ทำหน้าที่เป็นประตูปิดเปิดให้ไอออนผ่านเข้าเซลล์ (Ion-channel-linked receptors หรือ Transmitter-gated ion channel receptors หรือ Ionotropic receptors)

            
            
            เกี่ยวข้องกับการซิแนปส์เพื่อถ่ายทอดสัญญาณประสาท โดยการส่งสัญญาณอาศัยสารสื่อประสาทที่จะมาทำให้ช่องไอออนเปิดหรือ
ปิด หรือเป็นการเปลี่ยนคุณสมบัติการเป็นเยื่อเลือกผ่านของเยื่อหุ้มนั่นเอง ตัวรับนี้เป็น homologous multiple transmembrane protein

2. ตัวรับที่จับอยู่กับโปรตีนจี (G-protein-linked receptors)

          
            
            เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของตัวรับที่อยู่ที่ผิวเซลล์ ได้แก่ สารสื่อประสาท ฮอร์โมนเพปไทด์ นิวโรฮอร์โมน เป็นต้น โดยจะทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมของเอนไซม์หรือช่องไอออนแบบทางอ้อม อัตรกิริยาระหว่างตัวรับและโปรตีนที่เป็นเป้าหมายต้องอาศัยโปรตีนตัวกลางคือ โปรตีนจี (G protein) หรือ trimeric GTP-binding protein ตัวรับนี้เป็น homologous seven-pass transmembrane protein

3. ตัวรับจับอยู่กับเอนไซม์ (Enzyme-linked receptors)

         
           
             ตัวรับชนิดนี้อาจเป็นเอนไซม์หรือจับร่วมอยู่กับเอนไซม์และเป็น single-pass transmembrane protein ที่มีบริเวณจับกับสารส่งสัญญาณอยู่ภายนอกเซลล์ และบริเวณเร่งหรือจับกับเอนไซม์อยู่ภายในเซลล์ โดยโครงสร้างของตัวรับนี้เป็น heterogeneous เช่น เอนไซม์โปรตีนไคเนส (protein kinase) โพลีเพปไทด์โกรทแฟกเตอร์ต่างๆ (polypeptide growth factors)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น